|
|
|
|
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
(๒๔๔๙ ๒๕๐๔)
วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
ชาลี นารีวงศ์ |
|
|
เกิด |
|
วันพฤหัสบดี ที่ ๓๑ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ตรงกับ แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย |
|
|
บ้านเกิด |
|
บ้านหนองสองห้อง ต.ยางโยภาพ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี |
|
|
บิดามารดา |
|
นายปาว และนางพ่วย นารีวงศ์ |
|
|
พี่น้อง |
|
รวมกัน ๙ คน เป็นชาย ๕ หญิง ๔ คน |
|
อุปสมบท |
|
วันที่ ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (มหานิกาย) ญัตติเป็นพระธรรมยุต ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ |
|
|
|
โดยมีท่านพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) วัดสระปทุม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เพ็ง วัดใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ |
|
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
มื่อเยาว์วัยนั้น ท่านเป็นเด็กเลี้ยงยากขี้โรคพอสมควร พออายุได้ ๑๑ ปี มารดาของท่านเสียชีวิต |
|
|
|
|
เท่านกำพร้ามารดาตั้งแต่บัดนั้นมา เมื่อท่านอายุได้ ๑๒ ปี ท่านได้รับการศึกษาพออ่านออกเขียนได้ อายุ ๑๗ ปี ออกจากโรงเรียนช่วยบิดาประกอบอาชีพการงานอย่างขยันขันแข็ง โดยที่ท่านมีน้องต้องเป็นห่วงอยู่ หลังจากบวชพระแล้วหลายพรรษา ท่านเกิดเบื่อหน่ายต่อการหย่อนยานในข้อวัตรปฏิบัติที่จำพรรษาอยู่ ก็บังเอิญท่านได้ไปฟังธรรมเทศนาจากท่านอาจารย์บท ซึ่งท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เกิดเลื่อมใสในโวหารธรรมที่แสดงนั้น หลังจากแสดงธรรมเสร็จท่าน สมัยเป็นพระใหม่ ก็เข้าไปถามท่านว่า ใครเป็นอาจารย์ของท่าน คำตอบ
พระอาจารย์มั่น
พระอาจารย์เสาร์ ขณะนี้ท่านพักอยู่ที่วัดบูรพา จ.อุบล ท่านทราบที่อยู่อันแน่ชัดแล้ว ท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์และหมู่คณะญาติมิตร ออกเดินทาง
เมื่อไปถึง ท่านก็กราบเรียนตามความประสงค์ของตนต่อหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พร้อมกับได้รับสงเคราะห์แนะนำอบรม สอนคำภาวนาว่า พุท-โธ เพียงคำเดียว ต่อมาหลวงปู่มั่น ได้ส่งมาพักอยู่กับพระอาจารย์สิงห์และพระอาจารย์มหาปิ่นที่บ้านท่าวังหิน ก้าวแรกที่ท่านมาอยู่ปฏิบัติภาวนา และได้เป็นบันไดไต่ตามคลองธรรมทั้งหลาย ทั้งปวงจนเป็นที่เคารพนับถือของหมู่ชนทุกชั้นว่า ท่านพ่อลี วัดอโศการาม นับได้มีตำแหน่งสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่งในสายธรรมกรรมฐาน ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งประกอบด้วยบุญและวาสนา สั่งสอนอบรมพุทธบริษัทให้เป็นบุคคลพลเมืองดีในชาติมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกบูชา
หลังจากการแปรญัตติเป็นพระธรรมยุตแล้วท่านก็ได้ถือธุดงค์อย่างเคร่งครัดอาจหาญหวังความดีงามใส่จิตใจ ตนเองอย่างไม่ลดละท้อถอย มีบางครั้งบางคราว เริ่มแรกปฏิบัติใหม่ ๆ จิตใจนั้นชอบเข้าไปหาทางโลกอยู่เสมอ ท่านต้องสะกดจิตใจตนเองอย่างแสนสาหัส พยายามชนะใจตนเอง ชนะกิเลสให้ได้ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจท่านจะต้องเอาธรรมะเข้าไปดับ ตรึกตรองพิจารณาดูเหตุผลด้วยสติปัญญา เป็นเครื่องมือผ่านพ้น ทางด้านการธุดงค์ ท่านเป็นพระที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญมากองค์หนึ่ง ท่านเป็นพระที่ไปอยู่กลางดงเสือในป่า เสือในป่านี่เชื่องเหมือนหมาบ้าน เมื่อเข้าไปใกล้ท่าน ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ท่านเคยเดินธุดงค์กรรมฐานไปหลายแห่ง เช่น เขมร พม่า อินเดีย แต่ละสถานที่ท่านก็ได้ปฏิบัติธรรมเป็นเวลานาน ๆ เมื่อบำเพ็ญภาวนาเป็นที่พึงพอใจแล้ว ท่านก็ได้เปลี่ยนย้ายสถานที่แห่งอื่นต่อไป ทุกแห่งท่านจะโปรดญาติโยมด้วยธรรมะเสมอ ท่านได้กระทำคุณงามความดีในบวรพระพุทธศาสนามากมาย ยิ่งนัก นอกจากแสดงธรรมะอบรมสอนใจของผู้ใคร่ในธรรมแล้ว ท่านยังได้ก่อสร้างวัดวาอารามที่จังหวัดจันทบุรีถึง ๑๑ สำนัก ให้เป็นที่พึ่งทางใจแก่คณะศรัทธาญาติโยม
|
|
|
มรณภาพ |
|
วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔ สิริอายุได้ ๕๕ ปี ๓ เดือน ๓๕ พรรษา |
|
ข้อมูลพิเศษ |
|
* ได้รับความไว้วางใจจาก ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ให้เป็นอัศวินในกองทัพธรรม |
ธรรมโอวาท |
|
...คนเราเมื่อมีเวทนาอันใดเกิดขึ้นแล้วมักทำความปรารถนาต่างๆ ให้เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น |
|
|
สุขเวทนาได้เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ก็อยากให้สุขนั้นเป็นอยู่คงที่หรืออยากให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปเลยกลายเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นที่เรียกว่าสมุทัย เลยได้รับผลตรงข้ามกับความต้องการของตน บางทีก็มีทุกข์เวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่ต้องการ ดิ้นรนหาความสุขต่อไปเลยกลายเป็นเพิ่มทุกข์ บางขณะใจก็เฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ยินดียินร้าย เป็นกลางวางเฉยอยู่เช่นนั้น แล้วก็อยากให้เป็นอยู่เช่นนั้นเป็นนิจ บางทีก็เห็นว่าตนไม่ฉลาด เป็นเหตุให้เกิดความปรารถนาขึ้นอีกได้ แล้วก็ดิ้นรนขวนขวายอยากให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าตนที่เป็นอยู่นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะเรียกว่าผู้ตั้งอยู่ในสติปัฏฐานไม่ได้ ถึงแม้มีสติระลึกได้อยู่ว่าสุขหรือทุกข์ หรืออุเปกขาก็ตาม แต่ก็ไม่พ้นไปจากความเป็นเช่นนั้น นี่ก็ส่อให้เห็นว่าขาดคุณธรรม 3 อย่างทะนุบำรุงช่วยสนับสนุนสติอันนั้นให้เป็นองค์มรรคขึ้น คือให้มีสัมปชัญญะ ความรู้ดีประจำใจไว้เป็นเบื้องต้นนี้หนึ่ง แล้วใช้สติแล่นติดต่ออารมณ์กับจิต อย่าให้จิตเคลื่อนคลาดจากอารมณ์ทั้งนั้น อย่าให้อารมณ์นั้นคลาดเคลื่อนจากจิต ตั้งสติกับอารมณ์นั้น ประคองจิตไว้ในอารมณ์เดียวให้แน่วแน่อยู่ ส่วนอารมณ์นี้เป็นหน้าที่ของอาตาปี คือความเพียงเพ่งพิจารณาตามอาการของเวทนาทั้งหลายที่เป็นภายในและภายนอก สุข ทุกข์ อุเปกขา อาการใดอาการหนึ่ง เช่น ทุกข์เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไรเป็นหน้าที่ของความเพียรเพ่งพิจารณาดูจนกว่าจะรู้จริงนี้หนึ่ง จะเป็นเวทนานอกก็ตาม ในก็ตาม เป็นหน้าที่ของอาตาปี เวทนาทั้งหลายเหล่านั้นปรากฏอยู่ในที่แห่งใดจำจะต้องใช้ความเพียรเพ่งพิจารณาแผดเผาเร่าร้อนอยู่ในที่นั้น...
...นิสัยคนบาปคนนั้นเหมือนกับต้นไม้ ต้นไม้บางชนิด เช่นต้นฟักทอง หรือลูกฟัก เมื่อเราไปปลูกฝังไว้ยังพื้นแผ่นดิน เราก็อยากกินลูกเร็วๆ อยากกินผลเร็วๆ มันก็หาเป็นอย่างความคิดนึกของเราไม่ แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี ธรรมชาติความดีที่ได้ปลูกสร้างลงไป มันก็ค่อยเจริญขึ้นทีละนิดๆ เมื่อมันเจริญขึ้นแล้ว นานเข้าก็ย่อมออกผลให้เป็นธรรมดา แต่เราไปนั่งสังเกตดูซิว่ามันยาวขึ้นวันหนึ่ง นาทีหนึ่ง ยอดมันยาวขึ้นประมาณสักกี่เซนต์ ให้ไปเขียนดูชิ...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|